chontichani@gmail.com

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

ชุดการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้

ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

 



 

 

 

 

จักทำโดย

นางสาวชลธิชา  ชั้นเสมา

นักศึกษาฝึกงานวิชาชีพครู

 

 

 

โรงเรียนวัดช่องลาภ (โชคลาภประชาพัฒนา)

ตำบลหนองพันจันทร์  อำเภอบ้านคา  จังหวัดราชบุรี

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี  เขต 1                  

โทร. 087-9047683

 

คู่มือครู

 

ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

 สาระเศรษฐกิจพอเพียง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ส่วนประกอบของชุดการสอน

1.ใบความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

2. การ์ตูนสอนใจ  3  เรื่อง

3. ใบกำหนดงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

4. แบบทกสอบก่อนและหลังเรียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

5. แผนการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

6. แบบเฉลยใบกำหนดงานและแบบทดสอบ

 

คำชี้แจงสำหรับครู

1.ครูเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม (ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)

2.ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน  ตามข้อเสนอแนะ

 

แผนผังการจัดชั้นเรียน

 

                                                                                กระดานดำ

 

                                                                                      โต๊ะครู

โต๊ะนักเรียน

 

 

 

 


 


          3.ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร  และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ

          4.ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและเพียงพอกับนักเรียนแต่ละคน  ซึ่งแต่ละคนจะได้รับคนละ 1 ชุด  ยกเว้นสื่อการสอนที่ต้องใช้ร่วมกัน

                5.ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน  ตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

      6.ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน

(ดูบทบาทนักเรียน)

                7.เมื่อทันทีที่นักเรียนประกอบกิจกรรม  ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรเพิ่มเติมควรพูดเป็นรายบุคคล  ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนคนอื่น

                8.ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม  ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด  หากมีนักเรียนคนใดมีปัญหา  ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

                9. ครูควรพูดย้ำให้นักเรียนเก็บชุดการสอนให้เรียบร้อยเมื่อใช้เสร็จ

                10.การสรุปบทเรียนควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วย

                11.หลังจากเรียนครบเนื้อหาแล้ว  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนที่เป็นแบบทดสอบชุดเดียวที่เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน

                12. หากนักเรียนคนใดขาดเรียน  ครูควรให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้  โดยครูอาจแยกชุดการสอนมาหนึ่งชุดสำหรับนักเรียนคนนั้น

               

หมายเหตุ  ครูจะต้องชี้แจงให้นักเรียนซื่อสัตย์ต่อตนเอง  ที่จะไม่คัดลอกจากเพื่อนหรือแอบดูคำตอบก่อนจะตอบคำถาม  ในกรณีที่บทเรียนนั้นมีคำตอบหรือแบบเฉลยไว้

               

 

 

บทบาทของนักเรียน

                ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบบทบาทของนักเรียน  ดังต่อไปนี้

1.ปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างรอบคอบ

2.พยายามตอบคำถาม  หรืออภิปรายอย่างสุดความสามารถ  คำถามที่มีปรากฏไว้ในชุดการสอนไม่ใช้ข้อสอบ  แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

3.นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติงาน  อภิปรายอย่างจริงจัง  ไม่ก่อกวนผู้อื่น  และไม่ชักชวนเพื่อนให้ออกนอกลู่นอกทาง

4.นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง

5. เก็บชุดการสอนให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ  ถ้ามีสิ่งใดชำรุดควรแจ้งให้ครูทราบทันที

                 6. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามเวลาที่ครูกำหนดอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

แผนการจัดการเรียนรู้

                โปรดดูหน้าถัดไป

 

 

การประเมินผล

                1.ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

                2.ประเมินผลจากการมอบหมายใบกำหนดงานที่ให้ทำ

                3.สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการจัดการเรียนรู้

 กลุ่มวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม                          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อหน่วย  พออยู่  พอกิน                                                   เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง

วันจันทร์ที่ 8  ธันวาคม พ.ศ.  2551  เวลา...............น.  ผู้สอน  นางสาวชลธิชา  ชั้นเสมา

สถานที่สอน  โรงเรียนช่องลาภ  (โชคลาภประชาพัฒนา)      จำนวนนักเรียน 11 คน

 

1.สาระสำคัญ

                เศรษฐกิจพอพียง  คือ  การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน  ทางสายกลาง  และความไม่ประมาทโดยจะยึดหลักที่สำคัญอยู่  3  หลัก  คือ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการสร้างภูมิคุ้มกัน

ที่ดี

 

2.จุดประสงค์การเรียนรู้

                1.จุดประสงค์ปลายทาง

                                -  นักเรียนสามารถอธิบายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 หลักได้อย่างถูกต้อง

                2.จุดประสงค์นำทาง

                                -  นักเรียนอธิบายความพอประมาณได้ถูกต้อง

                                -  นักเรียนอธิบายความมีเหตุผลได้ถูกต้อง

                                -  นักเรียนอธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีได้ถูกต้อง

 

3.สาระการเรียนรู้

                เศรษฐกิจพอเพียง

                3.1 ความพอประมาณ

                3.2 ความมีเหตุผล

                3.3 การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

4.กระบวนการเรียนรู้

                1.ขั้นตอนอธิบายความพอประมาณ

                1.1.จัดทำชั้นเรียนโดยให้นักเรียนนั่งเป็นรูปตัวยู  โดยเกมนับ 1-3

1.2.นำเสนอสื่อโดยนำโมเดลแบบจำลองวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  มาให้นักเรียนดูและศึกษาทำความเข้าใจ  และตั้งประเด็นขึ้นมาถามนักเรียน

                1.3.ครูอธิบายโมเดลเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตความพอประมาณให้นักเรียนฟัง  แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบาย  วิถีชีวิตครอบครัวนักเรียนทำลงในใบกำหนดงานที่  4.1โดยทำเป็นรายบุคคลภายในห้องเรียน

                1.4.ปฏิบัติตามภาระงาน  โดยร่วมกันแสดงความคิดเห็น  ภายใน  10  นาที

                1.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนข้างๆ  แล้วจดลงในใบกำหนดงานที่  1

                1.6.นำเสนอผลงาน  โดยครูจะสุ่มเลือกให้มาอธิบายหน้าชั้นเรียนทีละคน

                1.7.ประเมินและสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา

          2.ขั้นตอนอธิบายความมีเหตุผล

                                2.1.จัดทำชั้นเรียนโดยให้นักเรียนนั่งที่เดิม

                2.2.นำเสนอสื่อโดยนำเทปบันทึกเสียงของนักเรียนขณะกำลังทะเลาะกัน  มาให้นักเรียนฟังและศึกษาทำความเข้าใจ  และตั้งประเด็นขึ้นมาถามนักเรียน

                2.3.ครูอธิบายครูอธิบายสาเหตุของการทะเลาะเบาะแวงและผลที่ตามมาให้นักเรียนฟัง  แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบาย  และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นลงในใบกำหนดงานที่  4.2 โดยทำเป็นรายบุคคลภายในห้องเรียน

                2.4.ปฏิบัติตามภาระงาน  โดยแข่งกัน  ภายใน  10  นาที

                2.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนข้างๆ  แล้วจดลงในใบกำหนดงานที่  2

                2.6.นำเสนอผลงาน  โดยครูจะสุ่มเลือกให้มาอธิบายหน้าชั้นเรียนทีละคน

                2.7.ประเมินและสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา

          3.ขั้นตอนอธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

                                3.1.จัดทำชั้นเรียนโดยให้นักเรียนนั่งสลับชายหญิงเป็นวงกลม

                3.2.นำเสนอสื่อโดยนำโมเดลแบบจำลองวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง(เดิม)  มาให้นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจ  และตั้งประเด็นขึ้นมาถามนักเรียน

                3.3.ครูอธิบายครูอธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเชื่อมโยงกับโมเดลให้นักเรียนฟัง  แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบาย  และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นลงในใบกำหนดงานที่  4.3 โดยทำเป็นรายบุคคลภายในห้องเรียน

                3.4.ปฏิบัติตามภาระงาน  โดยร่วมกันแสดงความคิดเห็น  ภายใน  10  นาที

                3.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนข้างๆ  แล้วจดลงในใบกำหนดงานที่  3

                3.6.นำเสนอผลงาน  โดยครูจะสุ่มเลือกให้มาอธิบายหน้าชั้นเรียนทีละคน

                3.7.ประเมินและสรุปเพิ่มเติมเนื้อหา

 

7

 

5.สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                1.ความพอประมาณ

                1.1.เกม

                1.2.โมเดลแบบจำลอง

                1.3.ใบกำหนดงานที่  1

                1.4.กติกา

                1.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

                2.ความมีเหตุผล

                2.1.เกม(เดิม)

                2.2.เทปบันทึกเสียง

                2.3.ใบกำหนดงานที่  1

                2.4.กติกาการแข่งขัน

                2.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

                3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

                3.1.เกมนั่งสลับ

                3.2.โมเดลแบบจำลอง

                3.3.ใบกำหนดงานที่  3

                3.4.กติกา

                3.5.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

6.การวัดผล+การประเมินผล

                การวัด

1.การวัดผลการอธิบายความพอประมาณ  ด้วยการตรวจผลการอธิบายตามใบกำหนดงานที่  1  โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง

2.การวัดผลการอธิบายความมีเหตุผล  ด้วยการตรวจผลการอธิบายตามใบกำหนดงานที่  2  โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง

3.การวัดผลการอธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี  ด้วยการตรวจผลการอธิบายตามใบกำหนดงานที่  3  โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง

               

 

 

 

การประเมินผล

1.ประเมินผลการอธิบายความพอประมาณพบว่านักเรียน.....คนอธิบายไม่ได้  แก้ไขด้วยการ  ครูอธิบายเพิ่มเติมในเวลาเรียน

2.ประเมินผลการอธิบายความมีเหตุผลพบว่านักเรียน......คนอธิบายไม่ได้  แก้ไขด้วยการ  ครูอธิบายเพิ่มเติมในเวลาเรียน

 

3.ประเมินผลการอธิบายการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีพบว่านักเรียน......คนอธิบายไม่ได้  แก้ไขด้วยการ  ครูอธิบายเพิ่มเติมในเวลาเรียน

 

         

          7.บันทึกหลังการสอน

                                ........................................................................................................................

                .....................................................................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คู่มือนักเรียน

 

ใบความรู้

 

เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง

 

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม .. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงเน้นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ  ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยวิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย ทรงเน้น พอมีพอกินอีกครั้ง

เหตุผลสำคัญที่ทรงมีพระบรมราโชวาทเช่นนั้นเนื่องจากประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมเป็นหลัก  โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ  ซึ่งจำเป็นต้องชำระหนี้ด้วยการส่งสินค้าออกทางการเกษตร  เป็นผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก  พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น  โดยที่ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาคเกษตรขณะที่การจ้างงานไม่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับการขยายตัวของผลผลิต ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ยังคงมีอาชีพการเกษตรได้รับผลกระทบ

 

 

 

 

 

ในการบรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการสร้าง ความพออยู่พอกิน ให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบท จากพระราชดำรัสในปีต่อ ๆ มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจ ดังนี้

1. ปรับแก้สภาพทางกายภาพของพื้นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

2. เน้นความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีโดยเน้นความประหยัดแต่ถูกหลักวิชาการ

            3. ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย  เพื่อลดความเสี่ยง  และช่วยให้เกิดกระแสรายได้ที่เหมาะสม

4. ส่งเสริมสถาบันหรือองค์กรของเกษตรกรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา

5. ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร

 

หลังจากนั้นได้ทรงค้นคว้าทดลองอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 4 ธันวาคม  พ.ศ.  2537 ได้ทรงเผยแพร่ ทฤษฎีใหม่  ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงในปี พ.ศ. 2539 ทรงเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ให้ มีความรอบคอบ และอย่า ตาโต   จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสที่ว่า

การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง  พร้อมกันนั้นทรงอธิบายต่อว่าคำว่า พอเพียง  มีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตนเอง  เพราะความพอเพียง   หมายถึง  การที่มีความพอ  คือมีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย   ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้   มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า  พอประมาณ  ซื่อตรง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราอาจจะสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้  แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น

 

 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในทุกอาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร  และตัวอย่างในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง การรู้จักพอประมาณ การมีเหตุผลในการตัดสินใจ รู้ว่าทำไมถึงทำ ทำอย่าง ทำแล้วจะได้อะไร การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤต และที่สำคัญคุณธรรมนำความรู้ คือความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เสียสละ และการยอมรับเทคโนโลยีรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสมดุล เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิตที่ขับเคลื่อน ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

 

 

 

เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม

สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง/ยั่งยืน

 

ทางสายกลาง >> พอเพียง

 

เงื่อนไขความรู้

รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

เงื่อนไขคุณธรรม

ซื่อสัตย์สุจริต อดทน

มีสติปัญญา แบ่งปัน

 

 

 

 

 

 

 

 

ทำความเข้าใจกับความคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน

และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี(เกษม วัฒนชัย,2548,หน้า 16-17)

ถอดสาระจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. แนวคิดหลัก แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัฒน์(การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง หน้า 13)

2. วิเคราะห์สาระของหลักคิด
          1) แกนของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนตามทางสายกลาง
          2) ผู้ที่ต้องปฏิบัติ คือ ประชาชนในชาติทุกระดับ หน่วยทางสังคม คือ
                     - ระดับครอบครัว
                     - ระดับชุมชน และ
                     - ระดับรัฐ
                     นั่นหมายความว่า บุคคลและองค์กรทางสังคมทั้งภาครัฐและ
ภาคประชาชนทุกภาคส่วน ทุกหน่วยระดับจะต้องดำรงอยู่และปฏิบัติตนตามทางสายกลาง
           3) ยิ่งเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ จะต้องเน้นเป็นพิเศษ คือ ต้องนำเอาหลักปฏิบัติปรัชญาทางสายกลางนี้มาใช้ เป็นฐานคิด ฐานทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของทุกองค์กร และทุกระดับ

3. ทางสายกลางคืออะไร และอย่างไร? คือ ทางชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง ตามกฎธรรมชาติ ที่มีอยู่ เป็นอยู่ ทั้งที่ตัวมนุษย์ และรอบ ๆ ตัวมนุษย์

กฎธรรมชาติที่เป็นอยู่คืออะไร
คือ กฎแห่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทนอยู่นานตลอดไปตามความต้องการของมนุษย์ไม่ได้ และหาตัวตนที่แน่นอนไม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปัจจัยที่มีอยู่

มนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และต้องอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้อง พอดี มีความศานติสุขได้

จะต้องปฏิบัติตนดำรงตนตามกฎธรรมชาติไม่ฝืนกฎ ไม่ฉีกกฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เข้าใครออกใครแต่เป็นกลางเสมอ

กฎธรรมชาติที่ไม่เข้าใครออกใครนี้ ภาษาธรรม ท่านเรียกว่า มัชเฌนธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก ประยุทธ ปยุตฺโต,257)

4. มนุษย์ / สังคมมนุษย์จะเดิน/ปฏิบัติตามทางสายกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ ได้อย่างไร จะปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ได้เข้าถึงธรรม คือ ความจริงนั้น จึงจะปฏิบัติให้สอดคล้อง ถูกต้องได้


ที่ว่า ได้เรียนรู้ได้เข้าใจ ได้เข้าถึง และได้ปฏิบัติตามนั้นอย่างไร ?

คือ ได้ฝึกจิต ฝึกความคิด ความเห็นของตนให้คิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง หรือตามกฎธรรมชาติที่ว่านั้น เรียกในภาษาธรรมว่า ปัญญาสิกขา คือ การฝึกอบรมจิตจนเกิดปัญญาแสงสว่าง

คือ ได้ฝึกจิตให้เกิดความเพียรพยายาม ให้แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวกโลเล มีสติคอยกำกับ เพื่อให้เป็นปัจจัยเกิดปัญญา หรือ แสงสว่างขึ้นในจิต ภาษาธรรมเรียกว่า จิตสิกขา คือ การฝึกฝนจิตให้เกิดความสงบแน่วแน่ มั่นคง

คือ ได้ฝึกกาย ฝึกวาจา ให้ทำให้พูด ในสิ่งที่มีสาระเป็นจริง ไม่เป็นพิษภัยกับตนเองและผู้อื่น ไม่สร้างไม่เสพสิ่งที่ก่อปัญหาแก่กายใจตนเอง และผู้อื่นและสิ่งอื่น มุ่งพากายใจเข้าสู่ความสงบเย็น เพื่อเกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาต่อไป ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ศีลสิกขา คือ การฝึกกายวาจาให้สะอาดหมดจด

ในทางปฏิบัติจะต้องทำให้ครบวงจร และขับเคลื่อนหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความก้าวหน้า และเข้าถึงความจริงได้ตามลำดับ และตามศักยภาพของผู้ฝึก ผู้ศึกษา

นี้คือ คำอธิบาย เรื่องทางสายกลาง พอสังเขปที่ปราชญ์ทั้งหลายเขาอธิบายไว้

คนใด ครอบครัวใด ชุมชนใด รัฐใด เดินตามทางสายกลางที่ว่านี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ถอดสาระหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

1. หลักการ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในและภายนอก

2. วิเคราะห์สาระของหลักการ

แกนของหลักการเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอเพียง ซึ่งอธิบายว่า ได้แก่

(1) ความพอประมาณ ได้แก่ ความพอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกิน โดยเฉพาะในการอุปโภคบริโภคปัจจัยต่าง ๆ ในการดำรงชีพ เช่น กินพอประมาณ ดื่มพอประมาณ ใช้พอประมาณ ก็คือ กินดื่มใช้แต่พอดี พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย ขององค์กร ที่เรียกว่า กินเป็น ใช้เป็น อย่างประหยัด มัธยัด

(2) ความมีเหตุผล ได้แก่ การคิด การพูด และการทำบนฐานของความรู้ที่มาและที่ไป ของเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยอะไรเป็นตัวก่อให้เกิดจะหลุดออกจากเหตุนั้น ได้โดยอาศัยช่องทางใด และจะใช้วิธีการใด การรู้เหตุรู้ผล ที่ว่านี้จะช่วยให้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และพัฒนาเรื่องต่างๆ ได้สำเร็จมากขึ้น

(3) การมีระบบคุ้มกันผลกระทบ ทั้งจากภายใน และภายนอก ได้แก่ ความไม่ประมาทขาดสติ จะคิด จะทำ จะพูด อะไรต้องระมัดระวัง ไม่ผลีผลามด่วนได้ ต้องรู้เขา รู้เรา โดยเฉพาะผู้นำทุกระดับจะต้องตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ต้องพร้อมที่จะรับและรุกได้เสมอ เพราะปรากฏการณ์ทั้งทางสังคมวัฒนธรรม และธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกฎธรรมชาติ

จึงเห็นได้ว่า หลักการเศรษฐกิจพอเพียง นั้น โดยแท้จริงแล้ว มิใช่มีวงจำกัดอยู่เฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่จะครอบคลุมทุกส่วนของการดำรงชีวิตของคนในสังคม ดังคำอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง ของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ที่ว่า

เศรษฐกิจพอเพียง ไม่เน้นเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่เน้นที่ความเป็นผู้เจริญทุกด้าน เช่น การพึ่งตนเอง ความเพียร ความประหยัด ความมีเหตุผล ความพอประมาณ หรือมัธฌิมาปฏิทา การต้องใช้ความรู้ การมีสติ การมีปัญญา โดยสรุป ต้องมีความถูกต้องในทุก ๆ ด้าน แม้ใช้คำว่าเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นวิถีชีวิต แห่งความพอเพียง เป็นเศรษฐกิจธรรมนิยม เป็นเศรษฐกิจวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตที่มีศีลธรรม อันนำไปสู่สุขภาวะ ความสมดุลเป็นธรรม และความร่มเย็น เป็นสุข” (ประเวศ วะสี , 2547 หน้า…)

ถอดสาระเป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. เป้าประสงค์ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากภายนอกได้เป็นอย่างดี

2. วิเคราะห์เป้าประสงค์

แกนของเป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความสมดุลและความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

ใคร อะไร สมดุล และพร้อม? คน ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ (รัฐ) หรือ ทุกภาคส่วนสมดุล และพร้อม (ดุลยภาพและเอกภาพ)

สมดุล คือ ไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่ง หรือไม่ขาด ไม่เกิน แต่พอเหมาะ พอดี เชื่อมต่อกันเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียวได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลัง

พร้อม คือ เมื่อมีความสมดุลมีพลัง ก็พร้อมที่จะรองรับกับความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม และธรรมชาติได้

คนที่มีความสมดุลด้านกายใจ หรือสุขภาพกาย สังคม ใจ จิตวิญญาณ ก็จะเกิดความพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคภัยทั้งข้างในและนอกกายใจได้

ครอบครัว ชุมชน รัฐ ก็เช่นกัน ถ้ามีความสมดุลทุกภาคส่วน คือ ทรัพยากรธรรมชาติ คน สังคม และภูมิรู้ ภูมิปัญญา และภูมิธรรม ก็พร้อมที่จะต่อสู่กับความเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ด้านได้ ทั้งภายนอกและภายใน

ความสมดุลและความพร้อมที่ว่านี้ มีไว้เพื่อรองรับหรือต่อสู้กับอะไร? มีไว้ต่อสู้หรือรองรับกับเรื่อง / สิ่งต่อไปนี้ ที่มาจากภายนอกสังคมเรา คือ

1. วัตถุสิ่งของ หรือที่เรียกกันว่าเทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ไหลเข้ามา เพราะเกิดภาวะโลกไร้พรมแดนมีการเปิดประตูการค้าเสรี เป็นต้น เช่น กรณีมือถือ เกมส์เพลย์ต่างๆ เป็นต้น

2. สังคม คือ รูปแบบความคิดและพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างเพศ ระหว่างวัย ระหว่างกลุ่ม ระหว่างองค์กร ก็จะถูกผลักเข้ามาจากภายนอกสังคม / ชุมชน ครอบครัว เป็นต้น ถ้าไม่มีมาตรการ ระวังป้องกัน กลั่นกรอง ก็จะพบกับอันตรายได้ง่าย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ พ่อแม่กับลูก นายจ้างกับลูกจ้าง

3. สิ่งแวดล้อม ประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาที่ว่า นั้น เป็นที่หมายตาของประเทศพัฒนาที่จะขยายฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมมาทดลอง โดยอ้างว่าต้นทุนต่ำจะได้ สินค้าราคาถูก แต่มีตัวร้ายแอบแฝงอยู่ด้วย คือ กากของอุตสาหกรรม เศษของอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลเป็นพิษภัยต่อคนในท้องถิ่น นั้น อย่างมโหฬารจะทำอย่างไร ต้องระวังอย่างหนัก ไม่คิดจะได้จะเอาแต่ประโยชน์จากมุมเดียว

4. วัฒนธรรม คือ วิธีคิดและรูปแบบปฏิบัติในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ที่แตกต่างกัน มีระดับสูง-ต่ำกว่ากัน เมื่อมีการเปิดพรมแดนด้านต่างๆ มีด้านการค้า การท่องเที่ยว เป็นต้น วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคนก็จะไหลเข้าหากัน เสมือนน้ำซึนามิ (
Stunami) ที่พาเอาทั้งของดีของเสียติดมาด้วยมากมาย จึงต้องระมัดระวังต้องไม่ประมาทเผลอเรอกับภาวะการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมของโลก 

ถอดสาระเงื่อนไขปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. เงื่อนไข

1) “จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม
2) “ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติ และความรอบคอบ
3) “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

2. วิเคราะห์สาระของเงื่อนไข ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อให้เกิดผลเป็นความสมดุลและความพร้อมตามหลักคิด หลักการ และเป้าประสงค์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติการตามเงื่อนไขหรือมาตรการต่อไปนี้
1. พัฒนาคนให้มีความรู้ (ปัญญา) ดี
2. พัฒนาคนให้มีความคิด (สมาธิ) ดี
3. พัฒนาคนให้มีความประพฤติ (ศีล) ดี

จะเห็นได้ชัดเจนว่า

แกนของเงื่อนไขปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาคน ใน 3 ด้านหลัก คือ พัฒนากาย วาจา พัฒนาใจ และพัฒนาจิตวิญญาณตามหลักคิดและหลักปฏิบัติพัฒนาคนของปราชญ์

เงื่อนไขข้อ 1 คือ การพัฒนาพฤติกรรม หรือการกระทำของคน
เงื่อนไข้ข้อ 2 คือ การพัฒนาความคิดของคน
เงื่อนไขข้อ 3 คือ การพัฒนาจิตวิญญาณ (ปัญญา) ของคน

และกลุ่มคนที่ทรงห่วงใย จะต้องแก้ไขก่อน คือ กลุ่มข้าราชการ (ประจำ+การเมือง) กลุ่มนักวิชาการ (ทฤษฎี) และกลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งก็คือกลุ่มแกนนำของสังคมทั้งหมด ทั้งภาคราชการ ภาควิชาการและภาคธุรกิจเอกชน กลุ่มนี้คือฟันเฟืองใหญ่ของสังคม ถ้ากลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็ยากที่จะทำอะไรให้สำเร็จได้ ซึ่งหมายความว่า กลุ่มนี้จะต้องเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกลุ่ม แรก ๆ ก็ว่าได้

จริยธรรมพื้นฐานที่คนเหล่านี้ต้องมี คือ ความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบรู้ที่เหมาะสม

ส่วนเงื่อนไขข้อ ที่ 2 นั้น จะเห็นชัดว่าจะเน้นที่ตัวคุณธรรม (สมาธิ) คือ ความอดทน ความมีวิริยะอุตสาหะ ความมีสติสัมปชัญญะ ซึ่งถือว่าเป็นคุณธรรมที่ผู้นำและประชาชนทุกคนจะต้องเรียนรู้และทำให้มีให้เกิดขึ้นในตน ในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กรในหน่วยงานให้ได้

ขณะที่เงื่อนไขข้อ 3 จะเห็นชัดว่าจะเน้นที่ตัวความรู้ (หรือตัวปัญญา) ทรงเป็นห่วงเรื่องความรู้ที่ขาดปัญญา คือ ความเห็นแจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะในการกำหนดนโยบายสาธารณะ แผนงานพัฒนาต่างๆ ว่าจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะถ้าผิดพลาดขึ้นมาแล้ว จะส่งผลเสียหายต่อสังคมประเทศชาติสูงมาก ดังนั้น ในการคิดการวางแผนและการปฏิบัติตามแผนทุกขั้นตอนจะต้องอยู่บนฐานของความรู้จริง หรือฐานของปัญญาให้มากที่สุด ไม่ใช่คิดปุบทำปับ โดยไม่มีความรู้อะไรรองรับเลย พระองค์เองนั้นจะทรงตัดสินพระทัย ทำอะไรจะต้องค้นหา ความรู้มารองรับเสมอ เพราะความรู้นำเข้านั้นบริบทจะต่างกัน

สรุป

นี้คือ บทสรุปที่ผู้เขียนเรียนรู้ได้จากเอกสาร เพื่อจะตอบโจทย์เบื้องต้นว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ใคร ที่ไหน อย่างไร ซึ่งก็พบว่า พบคำตอบหลัก ๆ ดังนี้

1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักคิด หลักปฏิบัติพัฒนาตามหลักมัชเณนธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลางหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ ได้แก่ หลักคิด หลักปฏิบัติที่ต้องคำนึงถึงความจริงของความเป็นมนุษย์และสิ่งรอบ ๆ ตัวมนุษย์ที่เรียกว่าธรรมชาติ

2. ในการจะปฏิบัติการตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักการ 3 ข้อ ที่เรียกว่า ความพอเพียงคือ ต้องมี ความพอประมาณมี ความมีเหตุผลและมีระบบคุ้มครองผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายในและภายนอก”

3. ในการปฏิบัติตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีเป้าประสงค์ คือ มุ่งให้เกิด ให้มีความสมดุลและความพร้อม ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางของสังคมโลกทั้งในด้านวัตถุ (เทคโนโลยี) สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากภายนอก

4. ในการปฏิบัติตามหลักคิด หลักการ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์นั้น จะต้องทำตามมาตรการและเงื่อนไขในการพัฒนาคนและสังคมใน 3 ด้าน หลัก คือ ด้านพฤติกรรม (จริยธรร) ด้านความคิด (คุณธรรม) และด้านความรู้ (ปัญญา)

5. ในการจะผลักดันให้สังคมไทยเดินตามทางสายกลาง หรือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ กลุ่มเป้าหมายแรกที่ต้องเน้นคือ กลุ่มแกนนำของสังคม กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ราชการ) นักทฤษฎี (นักวิชาการ) นักธุรกิจ เพราะกลุ่มเหล่านี้จะเป็นผู้คิดนโยบาย คิดแผนพัฒนา และดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของประเทศ ส่วนกลุ่มอื่น ๆ คือ กลุ่มประชาชนจะเป็นกลุ่มรอง หรือกลุ่มตาม

องค์ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวปฏิบัติที่กล่าวถึงในบทความนี้ คือ ฐานรู้ ฐานคิด เบื้องต้นของพวกเราทุกคนที่จะต้องหาทางแปลงลงสู่การปฏิบัติในลักษณะและรูปแบบต่างๆ กันต่อไป

 

 

 

 

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง คือ เสียงสวรรค์
องค์ราชัน แห่งสยาม นามยิ่งใหญ่
ภูมิพล อดุลยเดช ประเทศไทย
ทรงมอบให้ ปวงประชา ได้มาครอง

ทางสายกลาง คือ แกนที่แน่นกึก
มีตื่นลึก ทางความคิด ติดสมอง
เป็นข้อธรรม จำนรรจ์ ตามครรลอง
มนุษย์ต้อง เดินตาม เนื้อความใน

ต้องเรียนรู้ หลักการ ของงานนี้
ตั้งอยู่ที่ ความพอเพียง ไม่เอียงไหน
พอประมาณ มีเหตุผล มีกลไก
คอยคุ้มภัย ผลกระทบ จบโลกา

ต้องเรียนรู้ เป้าประสงค์ องค์หลักคิด
ที่แนบชิด ความพอเพียง เสียงถามหา
มุ่งดุลยภาพ เอกภาพ อาบชีวา
เผชิญหน้า ผองภัย ที่ไหลวน

เงื่อนไขหลัก ปักจิต ต้องคิดนึก
เราต้องฝึก คนให้ ไม่สับสน
ให้เจริญ ปัญญา พาหมู่ชน
ให้เป็นคน คิดทำ นำสิ่งดี

นี้คือ เส้นทาง ร่วมสร้างชาติ
ให้องอาจ น่ารัก สมศักดิ์ศรี
ธงชาติไทย จะได้อยู่ คู่ธรณี
ทุกชีวี สุขสันต์ นิรันทร์กาล

สุภาคย์ อินทองคง
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้
26 ตุลาคม 2548

เอกสารอ้างอิง
1. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต) พุทธธรรม (ฉบับเดิม) พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพ, 2546.
2. ประเวศ วะสี ยุทธศาสตร์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ, 2547.
3. เกษม วัฒนชัย เศรษฐกิจพอเพียง กรุงเทพฯ. 2548.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชุดการสอน

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์ที่ 1  ความพอประมาณ

ศูนย์ที่ 2  ความมีเหตุผล

ศูนย์ที่ 3   การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

.........................................................................................................................................................

  บัตรคำสั่งศูนย์การเรียนที่ 1

ความพอประมาณ

คำสั่ง      ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

                1.ให้นักเรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้                       

                2.ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม

                3.ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

                4.เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น

 

บัตรเนื้อหา  ศูนย์การเรียนที่ 1

ความพอประมาณ

ความพอประมาณ ได้แก่ ความพอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกิน โดยเฉพาะในการอุปโภคบริโภคปัจจัยต่าง ๆ ในการดำรงชีพ เช่น กินพอประมาณ ดื่มพอประมาณ ใช้พอประมาณ ก็คือ กินดื่มใช้แต่พอดีพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย ขององค์กร ที่เรียกว่า กินเป็น ใช้เป็น อย่างประหยัด มัทยัด


 

 

 

 

 

บัตรกิจกรรม  ศูนย์การเรียนที่ 1

ความพอประมาณ

คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

 

ความพอประมาณ ได้แก่อะไรบ้าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บัตรเฉลย  ศูนย์การเรียนที่ 1

ความพอประมาณ

 

 

คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

 

 

ความพอประมาณ ได้แก่อะไรบ้าง

คำบรรยายภาพแบบวงรี:         ความพอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกิน โดยเฉพาะในการอุปโภคบริโภคปัจจัย
ต่าง ๆ ในการดำรงชีพ เช่น กินพอประมาณ ดื่มพอประมาณ ใช้พอประมาณ ก็คือ กินดื่มใช้แต่พอดี พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย ขององค์กร ที่เรียกว่า กินเป็น ใช้เป็น อย่างประหยัด มัธยัด

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  บัตรคำสั่งศูนย์การเรียนที่ 2

ความมีเหตุผล

คำสั่ง      ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

                1.ให้นักเรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้                       

                2.ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม

                3.ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

                4.เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น

 

 

 

บัตรเนื้อหา  ศูนย์การเรียนที่ 2

ความมีเหตุผล

 

ความมีเหตุผล ได้แก่ การคิด การพูด และการทำบนฐานของความรู้ที่มาและที่ไป ของเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยอะไรเป็นตัวก่อให้เกิดจะหลุดออกจากเหตุนั้น ได้โดยอาศัยช่องทางใด และจะใช้วิธีการใด การรู้เหตุรู้ผล ที่ว่านี้จะช่วยให้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และพัฒนาเรื่องต่างๆ ได้สำเร็วมากขึ้น


 

 

 

 

 

 

 

 

บัตรกิจกรรม  ศูนย์การเรียนที่ 2

ความมีเหตุผล

 

 

คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

                                                ...................................................................

                                                                                ...................................................................

ความมีเหตุผล                                                       ...................................................................

                                                                                ...................................................................  

 

 

บัตรเฉลย  ศูนย์การเรียนที่ 2

ความมีเหตุผล

 

คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

 

 

ความมีเหตุผล                                  การคิด การพูด และการทำบนฐานของความรู้ที่มาและ

 ที่ไป ของเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร มีเหตุปัจจัยอะไรเป็น

 ตัวก่อให้เกิดจะหลุดออกจากเหตุนั้น ได้โดยอาศัยช่อง

 ทางใด และจะใช้วิธีการใด การรู้เหตุรู้ผล ที่ว่านี้จะช่วย

ให้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และพัฒนาเรื่องต่างๆ ได้

 สำเร็จมากขึ้น
                  

                                                                               

                               

  บัตรคำสั่งศูนย์การเรียนที่ 3

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

คำสั่ง      ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

                1.ให้นักเรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้                       

                2.ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม

                3.ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

                4.เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น

 

 

 

บัตรเนื้อหา  ศูนย์การเรียนที่ 3

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

 

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี  ได้แก่  การมีระบบคุ้มกันผลกระทบ ทั้งจากภายใน และภายนอก ได้แก่ ความไม่ประมาทขาดสติ จะคิด จะทำ จะพูด อะไรต้องระมัดระวัง ไม่ผลีผลามด่วนได้ ต้องรู้เขา รู้เรา โดยเฉพาะผู้นำทุกระดับจะต้องตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ต้องพร้อมที่จะรับและรุกได้เสมอ เพราะปรากฏการณ์ทั้งทางสังคมวัฒนธรรม และธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกฎธรรมชาติ

 

                                                                                 

 

 

 

 

 

 

บัตรกิจกรรม  ศูนย์การเรียนที่ 3

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

คำบรรยายภาพแบบเมฆ: …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี   

 

 

 

 

 

 

 

บัตรเฉลย  ศูนย์การเรียนที่ 3

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

 

คำบรรยายภาพแบบเมฆ: การมีระบบคุ้มกันผลกระทบ ทั้งจากภายใน และภายนอก ได้แก่ ความไม่ประมาทขาดสติ จะคิด จะทำ จะพูด อะไรต้องระมัดระวัง ไม่ผลีผลามด่วนได้ ต้องรู้เขา รู้เรา โดยเฉพาะผู้นำทุกระดับจะต้องตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ต้องพร้อมที่จะรับและรุกได้เสมอ เพราะปรากฏการณ์ทั้งทางสังคมวัฒนธรรม และธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกฎธรรมชาติ

คำสั่ง      ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบกำหนดงานที่  1

 

 

จงอธิบายวิถีชีวิตของครอบครัวนักเรียนว่ามีความพอประมาณอย่างไร

 

.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วาดภาพประกอบพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ชื่อ..................................................นามสกุล......................................ชั้น...................

 

ใบกำหนดงานที่  2

 

 

จากการ์ตูน  เรื่อง  ใบตอง  ในโลกวัยทีน  ตอนของขวัญปีใหม่  ถ้านักเรียนเป็นใบตอง  นักเรียนจะให้เหตุผลกับเพื่อนว่าอย่างไร

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อ..................................................นามสกุล......................................ชั้น...................

ใบกำหนดงานที่  3

 

 

จงอธิบายว่า  นิทาน  เรื่องบันทึกจระเข้แสนสุข   บ้านของคุณประหยัด  ครอบครัวคุณประหยัดมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร  และที่บ้านคุณประหยัดเขาได้ประดิษฐ์อะไร   

.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

วาดรูปประกอบพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม

 

 

ชื่อ..................................................นามสกุล......................................ชั้น...................

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

 

คำสั่ง   ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมายกากบาท(×)ทับตัวอักษรหน้าข้อที่ถูกที่สุดลงในกระดาษคำตอบ

 

1.ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  พระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่เป็นผู้ริเริ่ม  และมีแนวคิดมาเป็นเวลา   กี่ปีมาแล้ว    

ก.   รัชกาลที่ 6  เป็นเวลา  20  กว่าปี                 ข.  รัชกาลที่ 7  เป็นเวลา  10  กว่าปี

 ค.  รัชกาลที่ 8  เป็นเวลา  40  กว่าปี                ง.  รัชกาลที่ 9  เป็นเวลา  30  กว่าปี

 

2.หลักการเศรษฐกิจพอเพียง  คำว่า  พอเพียง  หมายความว่าอย่างไร

   ก.  ความโลภอยากได้ของผู้อื่น

   ข.  พูดเพ้อเจ้อตามความคิดของตนเอง

   ค.  ชอบพูดให้ร้ายผู้อื่น

   ง.   ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 

 

3 . นักเรียนคิดว่าใครปฏิบัติตนได้ถูกต้องกับความหมายของ ความพอประมาณ

   ก.  นีโลภมากอยากได้ของของเพื่อน

   ข.  มานะอยากมีเงินมากๆ

   ค.  ดาวประกอบอาชีพสุจริตมีเงินแค่พอใช้จ่ายและเหลือเก็บเพียงเล็กน้อย

   ง.  แนนอยากเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ

 

4.ข้อใดคือความหมายของคำว่าความมีเหตุผล

   ก.  การคิด การพูด และการทำบนฐานของความรู้ที่มาและที่ไป ของเรื่องนั้น ๆ

   ข.  พูดเพ้อเจ้อตามความคิดของตนเอง

   ค.  ชอบพูดให้ร้ายผู้อื่น

   ง.   นั่งเฉยๆไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น

5.นักเรียนคิดว่าอาชีพไหนที่ต้องมีเหตุผลมากที่สุดกว่าทุกข้อ

   ก.  นักเรียน               ข.   แม้ค้า

   ค.  ตำรวจ                 ง.   บุรุษไปรษณีย์

 

6.   แมวอยู่กับตากับยายมาตั้งแต่เด็ก  เขาได้พบกับพ่อแม่น้อยครั้งมาก

      แต่แมวเป็นเด็กขยันมีความกตัญญูต่อตากับยาย

      ซึ่งมีอาชีพทำนา  ปลูกผัก   แมวไม่เคยน้อยใจในชีวิตของตนเองเลย

    เขามีความสุขมากกับความพอเพียง  ที่บ้านตากับยาย

นักเรียนคิดว่าถ้าวันหนึ่ง  พ่อแม่มารับแมวไปเลี้ยงดู ซึ่งมีฐานะร่ำรวย  นักเรียนคิดว่าแมวจะทำอย่างไร 

 ก.  ไปอยู่กับพ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวย

 ข.  ไปอยู่กับพ่อแม่และเอาตากับยายไปอยู่ด้วย

 ค.  ไม่ไปเพราะแมวมีความสุขมากที่ได้อยู่กับตายาย  และวิถีชีวิตที่พอเพียง ชักชวนพ่อกับแม่มาอยู่   ด้วยกัน

 ง.  ไม่ไปอยู่กับพ่อและแม่ เพราะโกรธท่านที่ทิ้งแมวไป

 

7.ข้อใดถูกต้องที่สุด

   ก.  ขาวกินสุราขณะขับรถ                 ข.  เขียวไม่อ่านหนังสือเมื่อมีสอบ

   ค.  เหลืองคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง   ง.  แดงอายเพื่อนมากที่พ่อเป็นชาวไร่

 

8.นักเรียนคิดว่า  ทางสายกลางคืออะไร

ก.  มีความคิดที่จริงจังในชีวิตมาก                              

ข.  ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามโชคชะตา

 ค.  การวางเฉย                                                           

 ง.  มีชีวิตที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติ ที่มีอยู่  ไม่ตึงเกิดเกินไปไม่หย่อนจนเกินไป

                                                                              

 

9. นักเรียนคิดว่า  หลักปฏิบัติพัฒนาตามหลักมัชเณนธรรม  คืออะไร

 ก.  หลักที่หลอกตัวเองเพื่อให้ตัวเองมีความสุข                                  

ข.  หลักที่ไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดภายหลัง

ค.  หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ                           

ง.  หลักความยึดมั่นในตนเอง

 

10.ในการจำปฏิบัติการตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้นั้นจะต้องปฏิบัติตามหลักการกี่ข้ออะไรบ้าง

ก.    1 ข้อ คือความพอประมาณ

ข.    4 ข้อ  คือความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี  ความไม่โลภ

ค.    3 ข้อ  คือความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

ง.    2 ข้อ   คือความพอประมาณ  ความมีเหตุผล 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลยใบกำหนดงาน

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

 

เนื่องจากคำตอบเป็นคำตอบที่แสดงความคิดเห็นของตนเอง  เป็นคำตอบที่กว้าง จึงกำหนดการให้คะแนนดังนี้

 

ใบกำหนดงานที่ 1  

ตอบหรือแสดงความคิดเห็นครอบคลุมเนื้อหาตรงประเด็นที่โจทย์ถาม        ให้  10  คะแนน

                วาดภาพประกอบระบายสีอย่างสวยงาม              ให้  5  คะแนน

                รวม  15  คะแนน

 

ใบกำหนดงานที่ 2  

ตอบหรือแสดงความคิดเห็นครอบคลุมเนื้อหาตรงประเด็นที่โจทย์ถาม        ให้  10  คะแนน

รวม  10  คะแนน

 

ใบกำหนดงานที่3  

ตอบหรือแสดงความคิดเห็นครอบคลุมเนื้อหาตรงประเด็นที่โจทย์ถาม        ให้  10  คะแนน

                วาดภาพประกอบระบายสีอย่างสวยงาม              ให้  5  คะแนน

          รวม  15  คะแนน

               

หมายเหตุ   ถ้าเด็กคนใดตอบสั้นไม่ครบถ้วนตามที่โจทย์ถามก็ลดหลั่นคะแนนลงมาตามเนื้อหาคำตอบ  ในการให้คะแนนนั้นต้องอยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอนที่ต้องยึดหลักความยุติธรรมในการให้คะแนนแก่เด็กนักเรียน  ควรมีเจตคติที่ดีต่อเด็ก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับฉัน

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ชื่อ นางสาวชลธิชา ชั้นเสมา ชื่อเล่น นิหน่า ที่อยู่ 116 ม.11 ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70180 จบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เอกรัฐประศาสนศาตร์ เกรดเฉลี่ย 3.36 ปัจจุบันกำลังศึกษา ป.บัณฑิต วิชาชีพครู ปัจจุบันทำงาน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนวัดช่องลาภ